นายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกรม
นักวิชาการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในการนำตัวแทนพัฒนาการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกุยบุรี ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและสนับสนุนงานการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่
ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา" กรมการพัฒนาชุมชน ณ พื้นที่ต้นแบบ นายบุญเลิศ
เเสงนิล บ้านหนองเตาปูน หมู่ที่ 7 ตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การลงพื้นที่ดังกล่าวเป็นการสนับสนุนงานการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ซึ่งประสบกับปัญหาสภาพดินที่ไม่เหมาะกับการเพาะปลูกในรูปแบบโคกหนองนาน้ำเค็มชายฝั่งทะเล
แปลงนายบุญเลิศ แสงนิลซึ่งมีการติดตามสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นรูปธรรมและเป็นแบบอย่างในการแก้ปัญหาทีละจุด
ตามหลักการทรงงาน ของในหลวงรัชกาลที่ 9
ที่มีสภาพพื้นที่เดิมเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมตลอดปี
และมีธูปฤาษีขึ้นเต็มสภาพท้องทุ่งในพื้นที่รองรับน้ำ ไม่สามารถปลูกต้นไม้หรือพืชเศรษฐกิจหรือประกอบกิจการอื่นๆ
ที่เป็นการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ การดำเนินงานพัฒนาศูนย์เรียนรู้ต้นแบบดังกล่าว ทำให้มีการขุดปรับพื้นที่สร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบในเวลาต่อมาหากแต่ยังประสบปัญหาสภาพดินชายฝั่งทะเลที่เป็นโคกหนองนาน้ำเค็มและสภาพน้ำซึ่งเป็นน้ำกร่อย
ภายหลังมีการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือการดำเนินงานขับเคลื่อนโคกหนองนา
กรมการพัฒนาชุมชนทำให้การดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่ โดย นายบุญเลิศ แสงนิล
ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าพื้นที่ต้นแบบของตนนั้น "ทำเเบบคนจน" ลงมือทำ
ปรับเปลี่ยนและปรับปรุงพื้นที่ไปตามสภาพปัญหา การใช้ประโยชน์จากคลองไส้ไก่
โดยนำน้ำจืดจากคลองมาที่สระเล็กเป็นบ่อพักน้ำ จากนั้นใช้คลองไส้ไก่ที่มีรอบๆ
ผันน้ำเข้าสระใหญ่ และใช้น้ำจากคลองไส้ไก่ในการเลี้ยงต้นไม้รอบๆ พื้นที่
ขณะเดียวกันจากปัญหาสภาพดินเปรี้ยวส่งผลให้ต้นไม้และพืชผักไม่เจริญเติบโตและตาย
จึงหันมาใช้วิธีการปรุงดิน หรือการทำกระถางดินให้ต้นไม้ คือ การขุดดินเก่าออกแล้วนำดินที่ผสมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกรองในก้นหลุม
แล้วนำต้นไม้ลงปลูกในหลุม ทำให้ในปัจจุบันต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี
ส่วนการทำเตาเผาถ่าน ได้ทั้งถ่านและน้ำส้มควันไม้มีผลผลิตไว้แบ่งปัน
และนำไปจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
และเป็นเเหล่งเรียนรู้ให้คนในชุมชนและนอกจากนั้นยังมีการทำปศุสัตว์โดยการเลี้ยงแพะและใช้มูลแพะในการบำรุงต้นไม้สร้างการหมุนเวียนอย่างครบวงจร
นายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน
ได้เน้นย้ำถึงหัวใจหลักในการพัฒนาแปลงคือ ความตั้งมั่นในศาสตร์พระราชาและความมุ่งมั่นของเจ้าของแปลงควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
เพื่อกระจายแนวคิดในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สร้างความยั่งยืนทั้งในมิติสิ่งแวดล้อมภูมิสังคมและคุณภาพชีวิต
ตามแนวทางการขับเคลื่อนงานของปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในอนาคตได้อย่างแท้จริง
|