มะเร็งต่อมลูกหมาก
ยังเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของคนไทยตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้
สถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุพบผู้ชายเป็นมะเร็งเฉลี่ย 169.3 คนต่อประชากร 1
แสนคน โดยมะเร็งที่ผู้ชายป่วยมากที่สุดได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นอันดับ 4 ซึ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก
ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้
สันนิษฐานว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรม
โดยเฉพาะผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งเต้านมจะมีความเสี่ยงสูง
หรือพฤติกรรมการกินอาหาร น้ำหนักเกิน เบาหวาน มีความเครียดและสูบบุหรี่จัด
นายแพทย์วิรุณ โทณะวณิก
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ กล่าวว่า การฝังแร่มะเร็งต่อมลูกหมาก
แพทย์จะวัดขนาดและหาตำแหน่งของก้อนมะเร็ง เพื่อกำหนดตำแหน่งฝังแร่รังสีและตำแหน่งเข็ม
หลังจากฝังแร่ไปแล้ว
3-6 เดือน เซลล์มะเร็งส่วนใหญ่ในต่อมลูกหมากจะตายไป
และแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาติดตามผลเป็นระยะๆ
โดยการเจาะเลือดหาค่า PSA ซึ่งค่าจะต้องต่ำลงไปเรื่อยๆ สำหรับเม็ดแร่ที่ใช้ฝังเข้าไปในต่อมลูกหมากเพื่อรักษามะเร็ง
ในประเทศไทยเป็นเม็ดแร่ไอโอดีน-125 เปลือกภายนอกทำจากโลหะไทเทเนียม ส่วนใหญ่แล้วคนไข้ที่ฝังแร่ไปแล้วจะสามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกติภายในวันสองวันหลังจากฝังแร่ไป
โดยรังสีจะหมดไปและวัดไม่ได้หลังจาก 1 ปี
|