โครงการก่อสร้างและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของบริษัท ช.การช่าง จำกัด
(มหาชน) (CK) ในปี 2565 ยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยในงานภายในประเทศล่าสุดเมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ได้ร่วมลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างขุดคลองระบายน้ำหลากพร้อมอาคารประกอบ
สัญญาที่ 4 โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กับกรมชลประทาน มูลค่ารวม 3,280 ล้านบาท งานซ่อมบำรุง และปรับปรุงโครงสร้าง
และงานระบบทางพิเศษศรีรัช
ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครและทางพิเศษอุดรรัถยากับ บริษัท
ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ว่าจ้าง มูลค่างาน 1,078,094,260 บาท
ขณะที่งานประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนต่อขยาย (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม)
โดยบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM)
ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ช.การช่าง มีโอกาสจะได้งานดังกล่าว
เนื่องด้วยคู่แข่งน้อยและเป็นโครงการนี้ส่วนใหญ่เป็นงานรถไฟฟ้าใต้ดิน มูลค่ากว่า 1.27
แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโครงการที่จะเปิดประมูลภายในปีนี้ อาทิ รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย
3 เส้นทาง
รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช
มูลค่ารวมกว่า 2.27 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟทางคู่ ขอนแก่น-หนองคาย มูลค่า 2.97
หมื่นล้านบาท
ส่วนที่ สปป.ลาว ก็มีงานที่รอเซ็นสัญญา
เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบาง วงเงินราว 8 หมื่นล้านบาท ที่จะช่วยเพิ่มให้มูลค่างานในมือ (backlog) ถึง 1 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม
จากข้อมูลของนักวิเคราะห์ระบุว่า การที่บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
ได้เซ็นสัญญางานใหม่อีก 3,200
ล้านบาท รวมถึงงานที่ สปป.ลาว และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ที่ BEM เป็นผู้ชนะการประมูลงานโยธากว่า 9
หมื่นล้านบาท ก็คาดว่าจะให้ทาง CK เป็นผู้ก่อสร้างหลัก และส่งผลให้แบ็กล็อกของ
Ck อาจปรับตัวขึ้นไปสูงถึงระบบ 200,000 ล้านบาท
สำหรับทิศทางการดำเนินงานของบริษัท ซีเค
พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (CKP) ที่เป็นบริษัทในกลุ่ม ช.การช่าง ได้วางทิศทางและเป้าหมายธุรกิจของในปี
2565 ไว้ว่า จะมุ่งเน้นสู่การเป็นหนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีระดับคาร์บอน
ฟุตพริ้นท์ (Carbon
Footprint) ต่ำที่สุดรายหนึ่ง
เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยที่ต้องการมุ่งสู่สังคมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
ภายในปี พ.ศ. 2608
โดย CKPower ได้ตั้งงบลงทุนจำนวน
2,600 ล้านบาท
เพื่อเพิ่มทุนตามสัดส่วนในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งใหม่ใน สปป.ลาว
และลงทุนเพิ่มเติมในโครงการพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานน้ำ และพลังงานลม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายกำลังการผลิตติดตั้งของบริษัทที่ 4,800 เมกะวัตต์
ภายในปี 2567 และเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนให้ไม่ต่ำกว่า
95% ของกำลังการผลิตรวมของบริษัทฯ