บริษัท
ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO) ต้อนรับคณะผู้สั่งซื้อนำเข้าทุเรียนจากเมืองคุนหมิง, ตัวแทนจากสมาคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนของเมืองคุนหมิง ( E-Commerce
Cross Border Association) และสมาคมการผ่านพิธีการศุลกากรของเมืองคุนหมิง
สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพาณิชย์เมืองคุนหมิง กับ
บริษัท ลีโอ ซอร์สซิ่ง แอนด์ ซัพลายเชน จำกัด (LSSC) (บริษัทย่อย
LEO) ซึ่งได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ในการพัฒนาธุรกิจการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศสำหรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบข้ามพรมแดนจีน-ไทย
โดยร่วมประชุมหารือเรื่องการจัดซื้อและบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ข้ามแดนไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผลักดันการส่งออกทุเรียนไทยไปสู่ผู้บริโภคชาวจีนมากขึ้น พร้อมลงพื้นที่สวนทุเรียน และโรงคัดบรรจุทุเรียน
(ล้ง) ในพื้นที่จันทบุรี เพื่อศึกษากระบวนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว คัดแยก การแปรรูป
และบรรจุหีบห่อ สร้างความเข้าใจในมาตรฐานการผลิต และกระบวนการส่งออก
ทั้งนี้
LEO ได้เริ่มส่งทุเรียนเฟสแรก โดยใช้ตู้ควบคุมอุณหภูมิ “LEO Reefer ontainer” ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ จำนวน 50 ตู้ โดยมี LaneXang Express Co., Ltd. (LXE) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ เป็นผู้บริหารจัดการการดำเนินงานทั้งหมด
โดยได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยม เพียง 3
วันแรกหลังเปิดฤดูกาล ลูกค้าได้จองตู้ครบทั้งหมด 50
ตู้เรียบร้อยแล้ว สะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อคุณภาพตู้และบริการของ LEO ซึ่งปัจจุบัน LXE ได้ทยอยขนส่งสินค้าออกจากประเทศไทยผ่านเส้นทางรถไฟลาว-จีน
คาดว่าถึงปลายทางภายใน 2 สัปดาห์
สำหรับการดำเนินงานขนส่งทุเรียนในฤดูกาลนี้
ยังอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรระดับกลยุทธ์จากจีนที่สำคัญอย่าง China Railway International Multimodal Transport Co., Ltd (CRCT) บริษัทในเครือของ
China Railway Group (CR) มีบทบาทสำคัญในการจัดการตารางตู้รถไฟขาออกจากลาว
และการรับตู้เปล่าคืนจากคุนหมิงอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้สามารถบริหารรอบตู้ได้อย่างต่อเนื่องและทันต่อความต้องการของตลาด
ในปีที่ผ่านมา LEO ได้เริ่มทดลองขนส่งทุเรียนทางรถไฟในช่วงปลายฤดูกาล
ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ส่งผลให้ในปีนี้บริษัทฯ
สามารถวางแผนเชิงรุกและขยายการให้บริการได้เต็มศักยภาพ และคาดว่า volume การขนส่งสินค้าทางรางจากไทยไปประเทศจีนจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย
60% เมื่อเทียบกับปี 2567
โดยขณะนี้ตู้เปล่าชุดแรกได้เริ่มทยอยกลับมาประเทศไทยเพื่อรองรับคำสั่งซื้อในรอบถัดไป
ซึ่งลูกค้าได้เริ่มจองล่วงหน้าแล้วอย่างต่อเนื่อง
LEO ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถในการขนส่งทางรางระหว่างประเทศ
โดยใช้เทคโนโลยีการควบคุมอุณหภูมิร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ทั้งในไทย ลาว
และจีน
เพื่อสร้างระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพสำหรับสินค้าเกษตรของไทยในระยะยาวด้วยเช่นกัน
วันที่ 6 มิถุนายน 2568